ระบบ Cloud ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการที่องค์กร IT ที่จะสร้างระบบ Infrastructure และโครงสร้างพื้นฐานของ Service ต่างๆ และเพื่อให้สามารถ support งานในส่วนด้าน Application, Network, Website และ IT Infra ได้ดีมากขึ้น ผ่าน Cloud Service Provider(s) เจ้าต่างๆ
รูปแบบของ Self-Service น่าจะ (my assumption) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญ และเป็น go-to approach ของระบบประเภทนี้ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้ระบบ Cloud นั้น "ง่าย" และ "ใช้งานได้ดี" ด้วยนั้น ดูเหมือนจะเกิน scope งานของแผนก IT ในองค์กรไปแล้ว (my assumption)
ซึ่งจริงๆแล้วหลายๆองค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ก็ดูเหมือนพร้อม ที่จะกระโดดไปใช้งานระบบ Cloud แต่ที่ได้สัมผัสก็จะมีเพียงเพื่อใช้ support งาน Application เล็กๆ ไม่ค่อยสำคัญ รวมถึง Infra ชุดเล็กๆเพื่อการใช้งานภายในองค์กรเป็นหลัก ซึ่งก็ยังไม่ได้สร้าง Business Value ให้กับธุรกิจขององค์กรอย่างจริงๆจังๆ
Product Manager ดูเหมือนจะเป็น role ที่มีบทบาทสำคัญ ณ จุดนี้ (my assumption) เพื่อทำให้การใช้งานระบบ Cloud ในองค์กร ตอบโจทย์ทางด้าน Business มากขึ้นทั้งทางด้าน ความเร็ว(Speed), คุณสมบัติ(Feature) และ การปรับปรุง(Update) ของ Application เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ
วิธีที่ Product Manger จะเข้าไปมีส่วนร่วมและทำให้เกิดผลลัพธ์ข้างต้นนั้น มีดังนี้ (my assumption)
1. Pricing and Contract: ปกติแล้ว Product Manager จะต้องมองให้ออกเรื่องโครงสร้างการกำหนดราคา(Pricing Model) ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ กับการใช้งานและจำนวนของ end-users โดยที่การกำหนดราคา(Pricing Model) นั้นสามารถปรับไปได้ตามสถานะการต่างๆคือพอจะมี Pricing Innovation (ลด แลก แจก แถม หรือ VAS ต่างๆ)ได้ แต่ท้ายที่สุดจะต้องสามารถใช้ได้ขายได้จริงและ Pricing ที่ใช่สำหรับ User ของระบบ Cloud ที่จะยอมจ่ายได้เรื่อยๆ ซึ่งโครงสร้างการกำหนดราคา(Pricing Model) ของระบบ Cloud นั้นดีกว่า(Pay-as-you-grow) ระบบ IT แบบเดิมอยู่แล้ว เพราะโครงสร้างราคาแบบเดิมจะเป็นรูปแบบ Fixed-fee คือ end-users ต้องจ่ายถึงแม้จะใช้งานไม่เต็มที่ก็ตาม ซึ่งเหตุนี้จะเป็นแรงจูงใจให้ทาง Business อยากจะย้ายเข้ามาสู่ระบบ Cloud ถ้าสามารถจูงใจเค้าเป็นว่าเป็น deal ที่ดีกว่าจริงๆ จากนั้น Product Manager สามารถที่จะปรับสัญญา(Contract terms) ให้ยืดหยุ่นมากขึ้นในระยะยาว เช่น จูงใจด้วยราคาที่ถูกว่าถ้าเป็น contract ระยะยาว เป็นต้น
2. Price of Success and Failure: การที่ Product Manager ทุกคนพยายามทำให้ application ของตัวเองไปเป็นที่นิยมมากๆ โอกาสของความล้มเหลวก็มีมากเช่นกัน เมื่อก่อนในการที่จะปล่อย application ออกสู่ตลาดนั้น ผู้พัตนาจะมีการลงทุนในระบบ Infra ไม่สูงเกินไป หรือน้อยเกินไป เนื่องจากไม่ทราบ 'Demand' ที่แท้จริงของการใช้งาน ดังนั้นถ้าลงทุนไปมากก็อาจขาดทุนได้ง่ายๆ แต่ด้วยระบบ Cloud ตัว product manager สามารถที่จะกำนดปริมาณ resource ของการใช้งานใน phase ต่างๆได้ ทั้ง development testing หรือ production หรือแม้แต่จะสร้าง private cloud ขึ้นมาใช้งานกันก่อนก็ได้
3. Security: เป็นความเสี่ยงที่ Product manager ทุกคนจะต้อง concern แน่ๆอยู่แล้ว และเขาก็จะต้องคิดเพื่อป้องกันไม่ให้ end-users ต้องพบเจอกับความเสี่ยงนี้ ถึงอย่างนั้นการที่จะ host ข้อมูลทางด้านธุรกิจของตัวเองนอก firewall นั้นก็อาจทำให้ทีม IT ของบริษัทกังวลไม่น้อย ดังนั้น product manager จำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์และจะกัดการใช้งานข้อมูลประเภทที่ sensitive ให้เหมาะกับ level of security ที่ระบบ cloud นั้นๆทำได้ สุดท้าย Business Associates Agreements/Contracts จึงส่วนสำคัญที่จะทำให้การจัดเก็บข้อมูลของบริษัทเกิดความรัดกุมในเรื่องของ security และทำให้การทำงานร่วมกันกับ cloud partner นั้นชัดเจน
4. Integration and Upgrade: ปัญหา outage หรือแม้แต่การ down ระบบเพื่อ update/upgrade ของระบบ IT เก่าๆ ในขององค์กรในระดับ Enterprise เป็นหน้าที่หลักของทีม IT ในองค์กรที่จะต้องรับผิดชอบและจัดการมาช้านาน ในยุคของระบบ cloud เรื่องพวกนี้เหมือนจะกลายเป็นเรื่องที่่ง่ายมากๆ และไม่ต้องจัดการเองด้วยซ้ำ เนื่องจากในตลาดมี managed service และ cloud service provider จำนวนมากที่พยายามนำเสนอบริการและการจัดการเรื่องพวกนี้ให้ ทั้งยังสามารถกำหนดให้สอนคล้องกับ SLA หรือ OLA ที่ตกลงกับ Business ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น AWS ที่เป็น cloud service provider ขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญเรื่อง SLA ของตัวเองมากๆ ถึงกีบยอมจ่ายเงินคืนหรือให้ credit คืน หากระบบพวกเขา down เกินกว่า SLA ที่กำหนด มาตรการแบบนี้สามารถทำให้ลูกค้าของพวกเข้าเชื่อใจและ happy กับ service ของเขามากขึ้น
5. ROI: Return On Investment เป็นประเด็นหลักขององกรณธุรกิจ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับการวัดผลจริงๆจังๆ ซึ่งระบบ cloud จะทำค่า return ในสมุดบัญชีเป็น บวก ได้แทบจะทันที เนื่องจากค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนในระยะยาวนั้นไมไ่ด้ถูกจำกัดด้วยการซื้อระบบ IT ในปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะตกรุ่นทันทีที่ซื้อด้วยซ้ำไป ทำให้บริษัทที่ลงทุนในระบบ cloud ตั้งแต่เนิ่นๆนั้นได้ไปถึงุดคุ้มทุนได้เร็วว่าการใช้งานระบบ IT แบบเดิมๆ ซึ่งค่า price/earning(return) ratio จะสูงปี๊ด
No comments: