Application Attributes บนระบบ Cloud มีอะไรบ้าง?

Tuesday, March 31, 2015
หลังจากที่คุณสามารถระบุถึงคุณสมบัติ Application ที่สำคัญของคุณแล้ว คุณสามารถที่จะเริ่มฝึกการใช้งาน Cloud ได้ทันที (ในการใช้งานกับผู้ให้บริการ Cloud) แอดทริบิวต์ของ Cloud แบ่งออกได้เป็นหลากหลายประเภทขึ้นกับกระบวนการดำเนินงานของคุณ ผมได้ยกตัวอย่างการแบ่งประเภท เป็นดังนี้ Cloud Infrastructure, Cloud Storage, Cloud Platform, Cloud Applications และ Core Cloud Services

คุณสามารถที่จะวางแผนคุณสมบัติของ Application คุณให้เหมาะสมกับการจัดประเภทที่ผมได้กล่าวในข้างต้นมากกว่าหนึ่งประเภทก็ได้ ซึ่งแสดงในรูป


Mapping application attributes to cloud attributes
Cloud Infrastructure
โดยทั่วไปคือ โครงสร้างพื้นฐานหรือเวอร์ชวลเซิร์ฟเวอร์ (Virtual Server) บน Cloud ของผู้ให้บริการ โดยที่โครงสร้างพื้นฐานนี้จะมอบขุมพลังสำหรับการประมวลผลและ Application ที่มีขนาดใหญ่ สำหรับ Application ที่มีขนาดใหญ่ลองนึกถึง Facebook หรือ MySpace หากนึกถึงการประมวลที่มีขนาดใหญ่ให้ถึงเครื่องคลัสเตอร์ที่ High-Performance ไว้สำหรับในการคิดคำนวณเชิงวิศวกรรมยากๆ เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือ อากาศยาน เป็นต้น

แกนหลักของโครงสร้าง Cloud คือ เวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เวอร์ชวลเซิร์ฟเวอร์ในดาต้าเซนเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการลงทุนและการบำรุงรักษาที่สูงในส่วนของฮาร์ดแวร์ แต่ก็มีข้อดีคือเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน แพลตฟอร์มเวอร์ชวลไลเซชั่น สามารถแบ่งเป็น Full-Virtualization กับ Para-Virtualization สามารถศึกษารายละเอียดได้ในตอนที่ 4

Cloud Storage
เป็นการบันทึกข้อมูลแล้วเก็บไว้ภายในเมฆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการที่รวมถึงฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล เช่น การจัดเก็บไฟล์ดิจิตอลมีเดีย, การให้บริการซิงโครไนซ์ของข้อมูล หรือ Network Attached Storage(NAS) โดยที่การให้บริการด้านข้อมูลจะเป็นการจ่ายเท่ากับที่คุณใช้งาน (pay-as-you-go) ซึ่งในปัจจุบันเป็นการจ่ายแบบ pay-per-GB ทั้งข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลที่มีการถ่ายโอน

Cloud Storage มีประโยชน์มากมาย เช่น คุณสามารถจัดเก็บข้อมูลและเรียกใช้ข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจากทุกๆที่ และทุกๆเวลา การให้บริการ Data Storage ทั้งเร็วและมีราคาไม่แพง อีกทั้งยังมีขนาดไม่จำกัด อย่างไรก็ตามความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะการให้บริการที่ดีเยี่ยมอาจจะมีการผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การให้ความช่วยเหลือจึงเป็นประเด็นที่สำคัญในการใช้งานระบบ Data Storage ปัญหาที่สำคัญคือจะต้องสามารถระบุที่จัดเก็บข้อมูลขององค์กรที่ใช้บริการได้

Cloud Platform
จริงๆ แล้ว คือ ความสามารถในการสร้าง, ทดสอบ, ดีพลอย์, รัน และจัดการ Application บน CloudPlatform เป็นทางเลือกอีกประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ช่วยให้คุณสามารถทำงานเฉพาะบนโลก Online อย่างเดียว, Offline อย่างเดียว หรือทั้งสอง ขณะที่เครื่องมือในการทดสอบ Application อาจจะต้องขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง

กฏทั่วไปของ Cloud Platform คือ ค่าใช้จ่ายที่ต่ำ, Highly-Scalable ทั้งโฮสติ้งและสภาพแวดล้อมในการพัฒนาบนเว็บเบส และมีความเป็นไปได้ที่ Cloud Platform จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการทำ Web Hosting ที่มีความ Scalability และ Availability มากกว่าโฮสติ้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีและข้อเสียในทางเทคเทคโนโลยีได้ ซึ่งข้อเสียก็คือ หากมีการพัฒนาบน Cloud ของที่ใดที่หนึ่ง หากจะทำงานย้ายข้ามผู้ให้บริการอาจจะเป็นการยากมากกว่าการใช้โฮสติ้งแบบปัจจุบัน

Cloud Application
สามารถใช้งานบางส่วนหรือทั้งหมดบน Cloud ได้ หรือแม้กระทั่งอิมพลีเมนต์ฟังก์ชั่นหลักบน Cloud ก็เป็นได้ สถาปัตยกรรมของ Cloud Application จะแตกต่างจาก Application เดิมๆ เช่น การอิมพลีเมนต์ Cloud Application อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดที่แตกต่างจากเดิมออกไป

Cloud Application จะกำจัดการ Install และ Run เหมือน Application ทั่วๆไป อีกทั้งยังช่วยลดในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์, ดีพลอย์เมนต์, การจัดการ และการช่วยเหลือ ซึ่งจากที่ได้กล่าวข้างต้น เป็นคุณสมบัติของ Software-as a Service (SaaS)

ทางเลือกนี้ใช้โมเดลแบบ Software + Services เป็นการผสมผสานระหว่างการพัฒนา Application แบบเดิมและการอิมพลีเมนต์แบบ SaaSโดยที่ Application แบบ S+S จะเป็นการสร้าง Application แบบ Rich-Client Application ซึ่งจะเป็นต้องมีการติดตั้งลงบนเครื่องของผู้ใช้งาน ที่จะเป็นอินเตอร์เฟสให้เชื่อมต่อสู่การให้บริการภายนอก S+S สามารถที่จะทำการโต้ตอบ Application แบบ Offline ก็ได้ หรือทำการ Sync ข้อมูลในภายหลังเหมือนมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อก็สามารถทำได้

Core Cloud Services
เป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุน Cloud-Based Solution เช่น Identity Management (ระบบการจัดการตัวตน), Service-to-Service Integration, Mapping, ระบบ Billing/Payment, Search, Messaging, Business Process Management, Workflow และอื่นๆ Core Cloud Services สามารถที่จะทำงานเพียงลำพัง หรือทำงานผ่านการทำงานร่วมกันแบบระบบต่อระบบ

วิวัฒนาการของ Cloud Service เป็นการเลียนแบบอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ภายใต้การบริการต่างๆเช่น ระบบ Business Support (BSS) หรือ ระบบ Operational Support (OSS)

การบริการประเภท BSS เป็นการจัดการที่มีการโต้ตอบกันระหว่างลูกค้า เช่น
  • การสั่งซื้อ
  • กระบวนการออกบิล
  • การเก็บค่าใช้บริการ 
การบริการประเภท OSS เป็นการบริการด้วยตนเองและการรับผิดชอบต่องานนั้นๆ เช่น
  • การตรวจสอบการให้บริการ
  • การให้บริการสำรอง
  • การให้บริการในการตั้งค่าคอนฟิค
Cloud ทั้ง 5 ประเภท และแอดทริบิวต์ที่อยู่ใน Cloud Storage
Ref: https://msdn.microsoft.com/en-us/library/dd430340.aspx

No comments:

Powered by Blogger.
/*Ko-fi*/ /*Ko-fi*/